วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

          ข้อควรปฏิบัติในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการกระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎคม 2550
          พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะเป็นบังเอิญหรือตั้งใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่านและที่สำคัญคือผู้ให้บริการซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร ท่านมีหน้าที่หลายอย่างในฐานะ “ผู้ให้บริการ” ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการกระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ความปฎิบัติดังนี้


1. อย่าบอก password ของท่านในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตแก่ผู้อื่น โดยเด็ดขาด
2. อย่าให้ผู้อื่นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือของสำนักงานรวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
3. อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
4. อย่าเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ด้วย User ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
5. อย่านำ User ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
6. อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
7. อย่ากด remember หรือ remember password ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
8. อย่าใช้ wifi(wireless lan) ที่เปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
9. อย่าทำผิดตามมาตรา 14 ถึง 16 เสียเองไม่ว่าโดยบังเอิญหรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น
ท่านไม่มีทางทราบว่าผู้อื่นจะนำไปใช้งานเข้าสู่ระบบเมื่อใดหรือนำไปใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ หากผู้ที่แอบอ้างเป็นท่านไปกระทำความผิด ตามมาตรา 5 ถึง 16 ได้ทุกรูปแบบกว่าท่านจะพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ตัวท่านทำเอง ชีวิตก็คงจะลำบากไปนานทางที่ดี ไม่ต้องบอก password ให้แก่ผู้ใดเลย แล้วอย่าเผลอเขียนไปบนกระดาษที่มีคนแอบพบได้

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

5 วิธีที่นิยมใช้ป้องกันตัวเอง จากฟิชชิ่ง และข้อความอีเมล์หลอกลวง

           ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ประกาศแจ้งเตือนอี-เมลหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าไมโครซอฟท์จะมอบเงินแก่ผู้ที่ ส่งอี-เมลจากไมโครซอฟท์ต่อให้เพื่อน เนื้อหาว่า "บริษัท ไมโครซอฟท์ ทำการสำรวจการตลาดผู้ที่ใช้ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของไมโครซอฟท์ โดยแจกเงินให้กับผู้ส่งอี-เมลต่อไปให้เพื่อน" อย่างแพร่หลายต่อๆ กันไป 

          ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ได้รับ อี-เมล ซึ่งไมโครซอฟต์ไม่มีนโยบายในการสำรวจข้อมูลหรือมอบเงินในลักษณะดังกล่าว แก่ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โซลูชั่นหรือโปรแกรมใดๆ หากผู้ใดได้รับอี-เมลนี้อย่าหลงเชื่อ หรือส่งต่อให้เพื่อนโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือเสี่ยงต่อระบบรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ คำเตือนในการระมัดระวังฟิชชิ่ง และข้อความอี-เมลหลอกลวงพึงปฏิบัติเบื้องต้น 

          ควรระมัดระวังอี-เมลที่ถามข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ที่ถามชื่อ วันเกิด หมายเลขประกันสังคม ชื่อผู้ใช้-รหัสผ่านอี-เมล หรือข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่นใดๆ ให้ถือเป็นการหลอกลวงเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าอี-เมลนั้นจะส่งมาจากผู้ใดก็ตาม 

          หากมีเหตุผลใดๆ ที่เชื่อได้ว่าอี-เมลดังกล่าวอาจถูกต้องตามกฎหมาย โปรดอย่าตอบกลับอี-เมลนั้น หรือคลิกไฮเปอร์ลิงค์ใดๆ แต่ให้ใช้การคัดลอกและวาง URL ของเว็บหรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัทเพื่อสอบถามข้อมูลแทน โดยเราควรติดต่อผ่านช่องทางการสนับสนุนของบริษัทเพื่อยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย 

          ควรอ่านอี-เมลที่น่าสงสัยอย่างละเอียด อี-เมลที่ใช้คำไม่ถูกต้อง มีการพิมพ์ผิด หรือมีประโยค เช่น "นี่ไม่ใช่เรื่องตลก" หรือ "โปรดส่งต่อข้อความนี้ไปให้เพื่อนของคุณ" โดยทั่วไปจะถือว่าเป็นอี-เมลหลอกลวง บางครั้งชื่อบริษัทหรือแบรนด์อาจสะกดผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่น ใช้คำว่า Windows Hotmail (แทนการใช้ Windows Live Hotmail) 

          ควรเก็บรักษารหัสอี-เมลให้ดี กำหนดรหัสผ่านที่ไม่สามารถเดาได้ ใช้อักขระมากกว่า 7 ตัว และมีการใช้อักขระตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษ เช่น สัญลักษณ์ @ หรือ # ผสมกัน และควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ 

          หากได้รับการแจ้งเตือนจากฝ่ายบริการลูกค้า Microsoft ซึ่งขอยืนยันคำขอของคุณในการเปลี่ยนรหัสผ่าน ดังที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และคุณยังไม่ได้เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณ แสดงว่ามีผู้กำลังพยายามเข้าใช้บัญชี Hotmail ควรเปลี่ยนรหัสผ่านทันที โดยเข้าไปที่ http://account.live.com หรือใน Hotmail คลิกตัวเลือก และคลิกดูและแก้ไข ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ คุณจะได้รับพร้อมท์ให้ลงชื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้ง เมื่อคุณดำเนินการ ให้มองหา "ข้อมูลการตั้งค่ารหัสผ่านใหม่" ใต้ชื่อของคุณที่ด้านบน เปลี่ยนทั้งรหัสผ่านและคำถามเฉพาะ/คำตอบเฉพาะของคุณ เนื่องจากข้อมูลทั้งสองอาจถูกเปิดเผย

          การดำเนินการหากคิดว่ามีผู้เข้าอี-เมล และลงชื่อ ID ดูไม่น่าไว้ใจ หรือได้รับอี-เมลน่าสงสัยซึ่งพยายามจะขอยืนยันการเปลี่ยนรหัสผ่านที่คุณไม่ได้อนุญาต ให้เปลี่ยนรหัสผ่านตัวเองทันที 

          อีกทั้งให้ความร่วมมือในการแจ้งการหลอกลวงใหม่ หากใช้ Hotmail ก็สามารถเลือกรายการแบบหล่นลงที่อยู่ข้างๆ "อีเมลขยะ" แล้วเลือก "รายงานการหลอกลวงฟิชชิ่ง" อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญโปรดอย่าตอบกลับผู้ส่ง 

Dial up/ISDN คืออะไร??

Dial up/ISDN คืออะไร  
         บริการเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial up/ISDN) บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต สำหรับองค์กรที่มีการใช้งานไม่มาก หรือไม่ต้องการการเชื่อมต่อตลอด 24 ชั่วโมง และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานที่มีงบประมาณจำกัด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลรักษาระบบ เพียงท่านหมุนโทรศัพท์ (Dial Up) ผ่านโมเด็ม มายังจุดให้บริการของสบทร. ที่มีอยู่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ก็จะสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ต และเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย สื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 56 - 128 kbps 
 
 ISDN
          ISDN (Integrated Service Digital Network)          คือบริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิตอลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ เสียง และข้อมูล ด้วยความเร็ว 128 Kbps ขึ้นไป ข้อดีของการใช้ ISDN คือความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารของผู้ใช้บริการไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ (Conversion) ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน (Noise) ก็จะลดลงด้วย ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้องไว้ใจได้สูงกว่าแบบเดิม
         ลักษณะการใช้งานเหมือนกับการหมุนโทรศัพท์ธรรมดาปกติ คือเสียครั้งละ 3 บาท ก่อนจะใช้คุณต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่เบอร์ของ ISP ที่เป็น ISDN ด้วยจึงจะได้ความเร็วของ ISDN ตามที่กำหนด
รูปแบบการใช้บริการ ISDN มี 2 แบบ คือ
          1. แบบ BRI (Basic Rate Interface) หรือทางองค์การโทรศัพท์เขาเรียกว่า BAI (Basic Access Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการด้วยคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาจากชุมสาย ISDN จนถึงอุปกรณ์ปลายทาง คู่สายเพียง 1 คู่สาย สามารถที่จะรองรับอุปกรณ์ปลายทางชนิดต่าง ๆ ได้สูงสูด 8 อุปกรณ์และสามารถใช้งานได้ 2 อุปกรณ์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เนื่องจากภายในคู่สาย ISDN แบบ BRI นี้จะประกอบไปด้วยช่องสัญญาณ 2 ช่องโดยแต่ละช่องสามารถให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุดถึง 128 Kbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
          2. แบบ PRI (Primary Rate Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการโดยการวางเคเบิลแบบไฟเบอร์ออฟติคไปยังตู้สาขาแบบ ISDN (ISDN PABX) ของผู้เช่าเคเบิลเส้นหนึ่งจะช่องสัญญาณอยู่ 30 ช่อง แต่ละช่องให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ซึ่งแต่ละช่องสามารถที่จะรวมสัญญาณเข้าด้วยกันทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุด คือ 2.048 Mbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
 

วิธีทำให้ IE ประหยัดพื้นที่ฮาร์ดดิสก์

          ผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นประจำก็คงหนีไม่พ้นต้องใช้งานบราวเซอร์เพื่อค้นหาข้อมูลหรือแม้แต่เพื่อความบันเทิง ปัญหาก็คือเจ้า IE (Internet Explorer) ดังนั้นเวิร์กชอปนี้ขอเสนอวิธีปรับ IE เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพขึ้นได้บ้างก็ยังดี

          ขั้นแรก ลดวันที่เก็บหน้า History ตามปกติเมื่อเราไปท่องเว็บไหนก็ตาม เจ้า IE ก็จะตามเก็บหน้าเว็บที่คุณได้เข้าไปดูอย่างเกาะติดเหมือนกับเงาตามตัวกันเลยทีเดียวทีนี้ถ้าคุณเกิดมันส์ ในอารมณ์ (สนุก) ท่องเว็บไปเรื่อยเปื่อย ข้อมูลที่ถูกเก็บสะสมไว้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเชื่องช้านั่นเอง ซึ่ง IE เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ก็เลยตั้งค่า อัตโนมัติให้ทำลายตัวเอง... เอ่อไม่ใช่! จริงๆแล้วก็คือ ลบหน้าเว็บที่เก็บไว้ทิ้งไปนั่นแหละ แต่ว่ามันช่างนานเหลือเกินเพราะว่าตั้งเวลาไว้ตั้ง 20 วัน กว่าจะรู้ตัวก็ (คง) สายเกินแก้ ทีนี้ในฐานะที่เราเป็นเจ้าของเราก็มีสิทธิกำหนดเองได้ ให้เข้าไปที่ Tools -> Internet Options แท็ป General ช่อง History จัดการแก้ไขจำนวนวันได้ตามต้องการ ในที่นี้เปลี่ยนตัวเลขเป็น 1 ไปเลย วันเดียวก็เหลือเฟือ

          ขั้นที่สอง ยกเลิกการเก็บหน้าเว็บที่เข้ารหัส หน้าเว็บบางหน้าที่ต้องการการล็อกอินเพื่อถามรหัสผ่าน จะมีวิธีการเก็บข้อมูลที่ค่อนข้างจะเปลืองเนื้อที่ในการเก็บพอสมควร ถ้ารู้ดังนี้แล้วก็ไม่ต้องเก็บมันไปเลยถ้าจะดี ในการเข้าไปที่ Tools-> Internet Options แท็บ Advanced หัวข้อ Security ทำเครื่องหมายหน้าข้อ Do not save encrypted pages to disk

DSL คืออะไร ??

DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line
        หมายถึงเทคโนโลยีโมเด็ม ที่ใช้คู่สายทองแดงธรรมดา ปรับให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูง โดยมีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในขณะที่ใช้งานโทรศัพท์ สำหรับเทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายประเภท เช่น
  • ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
  • HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
  • IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
  • RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
  • SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
  • VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line
ซึ่งแต่ละเทคโนโลยี DSL จะมีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลแตกต่างกันออกไป โดยมีความแตกต่างกันในลักษณะดังนี้
  1. ความเร็วในการรับ (down) ส่ง (up) ข้อมูล
  2. Mode การรับ-ส่งข้อมูล
    เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานจริง การเลือกเทคโนโลยีในการรับ-ส่งข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตัวอย่างเช่น การรับ-ส่งข้อมูลของบริษัทระหว่างสาขา จะมีการรับ และส่งข้อมูลในการอัตราที่ต้องการความเร็วพอๆ กัน แต่สำหรับผู้ใช้ตามบ้านมักจะต้องการการรับข้อมูลในการอัตราความเร็วมากกว่า การส่งข้อมูล
  3. ระยะทางในการรับ-ส่งข้อมูล
    ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับความเร็วในการส่งข้อมูล เช่น เทคโนโลยี VDSL สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วถึง 52 Mbps แต่จำกัดในเรื่องระยะทางเพียง 1 km เท่านั้น แต่สำหรับ ADSL สามารถส่งข้อมูลได้เร็วเพียง 8 Mbps แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 5 km เป็นต้น 
  4. จำนวนสายที่ใช้
    ตัวอย่างช่น เทคโนโลยี HDSL จะใช้สายในการรับ-ส่งข้อมูลถึง 4 สาย หรือ 2 คู่ แต่เทคโนโลยีอื่นๆ ได้พัฒนาให้ใช้สายเพียง 1 คู่หรือ 2 สายเท่านั้น 
  5. ความสามารถในการใช้สายโทรศัพท์ระหว่างการรับ-ส่งข้อมูล
    เทคโนโลยีที่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ระหว่างการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ เทคโนโลยี ADSL และ VDSL
    ADSL คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำมาใช้งานอินเตอร์เน็ตตามบ้าน และองค์กรขนาดย่อม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องมาจากคุณภาพและราคาที่ค่อนข้างเหมาะสมกับความต้องการ


ตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยี DSL ไปใช้งาน
  • Broadcast Audio & TV
    ดูรายการถ่ายทอดสดผ่าน TV, คอมพิวเตอร์
  • Distance Learning
    การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต แบบ Interactive
  • Interactive Network
    เล่นเกมส์ online 
  • Online Shopping
    Shopping แบบ online
  • VDO Conference
    การประชุมทางไกล การอบรมทางไกล 
  • Video & Music on Demand
    ดูหนัง ฟังเพลงแบบ online สามารถเลือกได้ตามใจคุณ
  • VPN : Virtual Private Network
    การรับส่ง ติดต่อข้อมูลระหว่างสาขา